13 กันยายน 2551

น่ารัก มากมาย

แก้เครียด

11 กันยายน 2551

เงินเดือน ผู้ว่าฯกทม.เท่าไหร่??

ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ กทม. ปี 2528 กำหนดทีมงานของผู้ว่าฯ กทม. ที่เป็นทางการได้รับเงินเดือนรวม 19 ตำแหน่ง ได้แก่ ผู้ว่าฯกทม. ที่มาจากการแต่งตั้งของประชาชน รองผู้ว่าฯ 4 คน เลขานุการผู้ว่าฯ 1 คน ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าฯ 4 คน ประธานที่ปรึกษา และคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าฯ ไม่เกิน 9 คน ทั้งหมดนี้ผู้ว่าฯ กทม. เป็นผู้แต่งตั้ง นอกจากนี้ยังสามารถแต่งตั้งที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ได้ไม่จำกัดจำนวน แต่จะไม่มีเงินเดือน
สำหรับเงินเดือนดังกล่าว อิงตาม พ.ร.ก. กำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าฯ กทม. ข้าราชการการเมืองอื่นของกทม. และ กรรมการที่ผู้ว่าฯ กทม. แต่งตั้ง (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2547 ที่กำหนดบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือนและเงินเพิ่ม ดังนี้
# ผู้ว่าฯ กทม. เงินเดือน 62,830 บาท เงินเพิ่ม 41,500 บาท รวม 104,330 บาท
# รองผู้ว่าฯ เงินเดือน 60,660 บาท เงินเพิ่ม 20,750 บาท รวม 81,410 บาท
#เลขานุการผู้ว่าฯ เงินเดือน 34,610 บาท เงินเพิ่ม 4,400 บาท รวม 39,010 บาท
# ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าฯ เงินเดือน 31,170 บาท เงินเพิ่ม 2,200 บาท รวม 33,370 บาท

#ประธานที่ปรึกษาผู้ว่าฯ เงินเดือน 37,910 บาท เงินเพิ่ม 8,800 บาท รวม 46,710 บาท
# ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ เงินเดือน 34,610 บาท เงินเพิ่ม 4,400 บาท รวม 39,010 บาท

07 กันยายน 2551

ร่วมจุดเทียน ติดสติกเกอร์ ใส่เสื้อขาว ยุติความรุนแรงกัน

เครือข่ายสังคมไทยร่วมใจปฏิเสธความรุนแรง เชิญชวนประชาชนรณรงค์ยุติความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ

หลังเกิดเหตุการเผชิญหน้ากันระหว่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บนั้น หลายคนตั้งคำถามขึ้นในใจว่าเพราะอะไร ทำไมถึงมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ทำไมคนไทยถึงฆ่าคนไทยด้วยกันเอง และจะทำอย่างไรปัญหาต่างๆ ถึงจะจบลงอย่างสันติ ไม่มีการนองเลือดจนลามไปถึงสงครามกลางเมือง ดังนั้น วันนี้เรามีจึงหยิบเอาคติธรรมข้อคิดดีๆ จากพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี มาฝากคนไทยทุกคนค่ะ

(1) ขอให้รัฐบาลและพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและคนไทยทั้งปวง จงทำใจให้กว้างโดยการตระหนักรู้ว่า การชุมนุมกันทางการเมืองก็ดี ความขัดแย้งอันเนื่องมาจากความคิดเห็นที่แตกต่างกันก็ดี ถือว่า นี่เป็นปรากฏการณ์อันเป็นธรรมดาของบ้านเมืองที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย

(2) ขอให้รัฐบาลและพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นใหญ่ เป็นสำคัญ อย่าทำการใดก็ตาม เพียงเพื่อสนองผลประโยชน์ของตนเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่คำนึงว่าประเทศชาติประชาชนจะเสียหายใหญ่หลวงเพียงไร

(3) ขอให้ทุกท่าน ทุกคน ทุกฝ่ายยึดมั่นในหลักธรรมสำคัญ อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาโดยไม่เสียเลือดเนื้อคนไทยด้วยกันดังต่อไปนี้

3.1 ขอให้ยึดมั่นใน "ขันติธรรม" กล่าวคือ การอดทนอดกลั้นให้ถึงที่สุด อย่าลุแก่โทสะ คือ ใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหา หรือนำไปสู่การเผชิญหน้ากันโดยขาดความยั้งคิด

3.2 ขอให้ยึดมั่นใน "สันติธรรม" กล่าวคือ ใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหาทุกขั้นตอน โดยขอให้คิดอย่างสันติ (เช่น ไม่วางยุทธศาสตร์ให้ทหาร ตำรวจ ใช้อาวุธสงครามบุกเข้าทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์) พูดอย่างสันติ (เช่น ไม่กระตุ้นให้เกิดความเกลียดชัง หรือยั่วยุให้เกิดการใช้ความรุนแรง) และทำอย่างสันติ (เช่น ใช้การเจรจาเป็นทางออกสำหรับการแก้ปัญหา)

3.3 ขอให้ยึดมั่นใน "เมตตาธรรม" กล่าวคือ อย่าเผชิญหน้ากันโดยการตั้งธงแห่งอคติไว้ล่วงหน้าว่า ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับตนเป็น "ปรปักษ์" ที่จะต้องถูกกำจัด ถูกลงฑัณฑ์ให้หนักหนาสาหัส แต่ขอให้เผชิญหน้ากับคนที่อยู่ตรงข้ามกับตนในฐานะที่เขาก็เป็น "คนไทยเหมือนกันกับเรา" เขาแค่เห็นหรือปฏิบัติไม่ตรงกับเรา ไม่ได้หมายความว่าเขามี "ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์น้อยกว่าเรา"

3.4 ขอให้ยึดมั่นใน "นิติธรรม" กล่าวคือ เคารพกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ประเทศชาติประกอบด้วยคนที่ต่างคนต่างความคิด ต่างความเห็น ต่างความต้องการ หากทุกคน ทุกฝ่าย ต่างยึดเอา "ความต้องการ" ของตนเป็นที่ตั้ง ก็ไม่มีทางที่ประเทศชาติจะมีสันติสุขได้เลย ดังนั้น เราทุกคน ทุกฝ่าย จึงควรร่วมกันยกเอากฎหมาย ขึ้นเป็นใหญ่ เป็นสำคัญ เป็นบรรทัดฐาน ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ คนทุกคนที่ไม่ยอมให้แก่ใคร ในท้ายที่สุดก็ควรจะยอมให้แก่กฎหมาย เมื่อมาอยู่เบื้องหน้ากฎหมายแล้วขอให้เราเคารพกฎหมาย เพราะหากไม่เคารพกฎหมายเลย บ้านเมืองก็จะเข้าสู่สภาพอนารยะ ไม่มีขื่อไม่มีแป ไม่มีหลักประกันในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และจะก่อให้เกิดสภาพล้าหลังในทุกๆ ทางอย่างน่าเสียใจเป็นที่สุด

" ขอให้เราคนไทยทุกภาคส่วน ร่วมกันตั้งกัลยาณจิต ภาวนาให้เราสามารถก้าวข้ามวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ร่วมกันอย่างสันติในเร็ววัน"

25 กรกฎาคม 2551

Quiz# 2 ออกแบบฐานข้อมูล (ระบบร้านอาหารนายแกละ)

คลิ๊กที่รูปภาพเพื่อขยายน่ะค่ะ
ER-Diagram

ER-Diagram แสดงให้เห็นถึงข้อมูลและความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆที่มีในระบบทั้งหมดในระบบร้านอาหาร

--------------------------------------------------------------------------

Data-Dictionary เป็นการอธิบายของฐานข้อมูลที่มีทั้งหมดใน

ร้านอาหารโดยอธิบายในแต่ละตารางข้อมูลซึ่งจะแบ่งได้ดังนี้

1. Customer : รายละเอียดของลูกค้า

2. Employee : รายละเอียดของพนักงาน
3. Food : รายละเอียดของอาหารและเครื่องดื่ม
4. Order : รายละเอียดของข้อมูลการสั่งอาหาร
5. Delivery : รายละเอียดของการส่งอาหาร
6. Materal Order : รายละเอียดของการสั่งซื้อวัตถุดิบ
7. Raw Material : รายละเอียดของวัตถุดิบ
8. Shop : รายละเอียดของร้านค้า
9. Pay money : รายละเอียดของการชำระเงิน

สมาชิกกลุ่ม Quiz# 2 ออกแบบระบบ (ร้านอาหารนายแกละ)

1. น.ส วรางคณา ศรีจันทรา รหัส 481-20-0123

2. น.ส นุสรา เซ็นติมา รหัส 481-20-0126

3. น.ส สุธาธิน แบบประเสริฐ รหัส 481-00-0330

19 กรกฎาคม 2551

Quiz#1 กรณีศึกษา Sarah Morris

จากการวิเคราะห์การบริการจัดการสัมนาของ Sarah Morris ในการทำงานให้เป็นระบบจึงต้องมีเทคโนโลยีทางด้าน IT เข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์กรการจัดการสัมนา สามารถแบ่งเป็น 6 ประเภท คือ
1. ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ (Transaction Processing System : TPS) ระบบการ ประมวลผลทางธุรกิจ มักเป็นการประมวลผลต่อวัน เช่น การรับ – จ่ายบิล ระบบนี้เป็นระบบ สารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับ การพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ลักษณะเด่นของระบบ TPS คือ การทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งระบบนี้เกือบทั้งหมดใช้การประมวลผลแบบออนไลน์ และสิ่งที่องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ
- ลดจำนวนพนักงาน
- องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว
- ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่ต้องการ การประมวลผล ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการช่วยงานแบบต่อวัน MIS จึงมีความสามารถ ในการคำนวณเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งมีความหมายต่อการจัดการและบริหารงานเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นระบบนี้ยังสามารถสร้างสารสนเทศที่ถูกต้องทันสมัย
คุณสมบัติของระบบ MIS คือ
- ระบบ MIS สนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
- ระบบ MIS จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่างๆ ใน องค์กร
- ระบบ MIS จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูงเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ ตามเวลา ที่ต้องการ
- ระบบ MIS จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงของ องค์กร
- ระบบ MIS ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่ เกี่ยวข้องเท่านั้น
3. ระบบช่วยตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) ระบบช่วยตัดสินใจ หมายถึง ระบบ ที่ทำหน้าที่จัดเตรียมสารสนเทศ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ หากเป็นการใช้โดยผู้บริหารระดับสูง เรียกว่า “ระบบสนับสนุนการตัดสินในเพื่อผู้บริหารระดับสูง” (Executive Support System : ESS) บางครั้งสารสนเทศที่ TPS และ MIS ไม่สามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้จำเป็นต้อง พัฒนาระบบช่วยตัดสินใจ DSS ขึ้น เพื่อช่วยในการตัดสินใจภายใต้ผลสรุปและการเปรียบ เทียบข้อมูลจากแหล่งอื่น ทั้งภายในและนอกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วยในการตัดสิน ใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการรวมบริษัท การขยายโรงงานใหม่ คุณสมบัติของระบบ DSS คือ
- ระบบ DSS จะต้องช่วยผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ
- ระบบ DSS จะต้องถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มี โครงสร้างแน่นอนได้
- ระบบ DSS จะต้องสามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับแต่จะเน้นที่ระดับวางแผนบริหาร และวางแผนยุทธศาสตร์
- ระบบ DSS มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความสามารถในการจำลองสถานการณ์และมี เครื่องมือในการวิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ
- ระบบ DSS ต้องเป็นระบบที่โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานได้ง่ายผู้บริหารต้องสามารถใช้ งานโดยพึ่งความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยที่สุดหรือไม่ต้องพึ่งเลย
- ระบบ DSS ต้องสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการข่าวสารในสภาพการณ์ต่างๆ
- ระบบ DSS ต้องมีกลไกช่วยให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
- ระบบ DSS ต้องสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลขององค์กรได้
- ระบบ DSS ต้องทำงานโดยไม่ขึ้นกับระบบการทำงานตามตารางเวลาขององค์กร
- ระบบ DSS มีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับรูปแบบการบริหารแบบต่าง ๆ
4. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS) ระบบ สารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบ กันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง คุณสมบัติของระบบ EIS
- มีการใช้งานบ่อย
- ไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
- ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
- การใช้งานใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
- การสนับสนุนการตัดสินใจไม่มีโครงสร้างแน่นอน
- ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
- การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ
- ความเร็วในการตอบสนองรวดเร็วทันทีทันใด
ข้อด้อยของระบบ EIS
1. มีข้อจำกัดในการใช้งาน
2. อาจทำให้ผู้บริหารจำนวนมากรู้สึกว่าได้รับข้อมูลมากเกินไป
3. ยากต่อการประเมินผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ
4. ไม่สามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้
5. ระบบอาจนะใหญ่เกินกว่าที่จะจัดการได้
6. ยากต่อการรักษาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
7. ก่อให้เกิดปัญหาการรักษาความลับของข้อมูล
5. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OAS) ระบบสำนักงานอัตโนมัติ หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อ สารเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างเครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน OAS มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ ใช้กระดาษข่าวสารถึงกันด้วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange) แทน ซึ่ง มีรูปแบบในการใช้งาน 2 ลักษณะ คือ
1. รูปแบบของระบบงานพิมพ์และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การสื่อสารด้วยข้อ ความ E – mail , FAX
2. รูปแบบการประชุมทางไกลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การประชุมทางไกลแบบมีแต่เสียง (Audio Conferencing) การประชุมทางไกลแบบมีทั้งภาพและเสียง (Video - Conferencing)
สำนักงานที่จัดว่าเป็นสำนักงานอัตโนมัติ ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ คือ
1. Networking System คือ ระบบข่ายงานที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างกันทั่วองค์กร
2. Electronic Data Interchange คือ การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกน โดยอาศัยสัญญาณ ข้อมูลข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบข่ายงาน
3. Internet Working (Internet) คือ การรวมตัวกันของระบบข่ายงาน ที่กระจายอยู่ทั่วโลกจน กลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่
4. Paperless System คือ ระบบที่ไม่ใช้กระดาษอาทิ Post Of Sale (POS) เป็นการขายแบบมี การบันทึกรายการขายและรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวกับสินค้าทันทีที่มีการขาย ณ จุดขายนั้นๆ Electronic Funds Transfer (EFT) เป็นระบบการโอนเงินอัตโนมัติของธนาคารโลก
6. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Artificial Intelligence / Expert System : AI/ES) ระบบผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งคล้ายกับมนุษย์ ระบบนี้ได้รับความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อ ให้คอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์เหตุผล เพื่อตัดสินใจ ความรู้ที่เก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์นี้ ประกอบด้วย ฐานความรู้ (Knowledge Bass) และกฎข้อวินิจฉัย (Inference Rule) ซึ่งเป็นความ สามารถเฉพาะที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจได้เอง เช่น การวินิจฉัยความผิด พลาดของรถจักรดีเซลไฟฟ้าโดยใช้คอมพิวเตอร์
และยังต้องนำซอฟแวร์เข้ามาช่วยได้แก่ ระบบ Call Center
1. ระบบ Call Center
- สามารถตอบสนองได้อย่างสมบูรณ์แบบและมี ประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการตอบข้อซักถาม ปัญหาต่าง ๆ รับคำสั่งตจองห้องสัมนาตาม โรงแรม
- สนับสนุนการให้บริการช่วยเหลือทางด้านเทคนิคการให้บริการข้อมูลข่าวสารที่ต้องการ ประชาสัมพันธ์ และสาระความรู้ต่างๆ ที่ลูกค้าควรทราบ รวมถึงการรับเรื่องร้องเรียนหรือ กิจกรรมต่างๆ หรือคำแนะนำ คำติชม ที่เกี่ยวกับธุรกิจอย่างครบวงจรและสิ่งที่ลูกค้าจะได้รับ คือ ความ ะดวกรวดเร็วในการรับบริการ
- ลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารที่ซับซ้อน และที่สำคัญที่สุด คือ ได้รับบริการที่ตอบสนอง ความต้องการและความพึงพอใจสูงสุด

สมาชิกกลุ่ม Quiz#1 กรณีศึกษา Sarah Morris
1. น.ส วรางคณา ศรีจันทรา รหัส 481-20-0123
2. น.ส นุสรา เซ็นติมา รหัส 481-20-0126
3. น.ส สุธาธิน แบบประเสริฐ รหัส 481-00-0330